ถ้าได้ลองพิมพ์ภาษาไทยใน R Markdown แล้ว knit เป็น pdf_document
จะพบว่าเกิด error ขึ้น
Error: LaTeX failed to compile something.tex.
การสร้าง PDF จาก R Markdown นั้น จะผ่านกระบวนการที่แปลงเอกสารหลายขั้นตอน ซึ่ง ภาษาไทย จะมีปัญหาที่ขั้นตอน
LaTeX -> PDF
วิธีแก้นั้น จะต้องมีการตั้งค่าต่างๆ ใน LaTeX preamble และ YAML header ของ R Markdown เพื่อให้รองรับกับการใช้งานภาษาไทยได้ โดย R package นี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยใน workflow จุดนี้
(ขอบคุณคำแนะนำจาก: คําแนะนําการตั้งค่า LATEX สําหรับใช้ภาษาไทย)
การ install เหล่านี้ทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
install.packages("tinytex")
# For using R Markdown
tinytex::install_tinytex()
# Install LaTeX PKG required by `thaipdf`
tinytex::tlmgr_install(c(
"fontspec", "ucharclasses", "polyglossia"
))
โดย LaTeX package ที่จำเป็นสำหรับ type setting ภาษาไทยคือ “fontspec”, “ucharclasses” และ “polyglossia”
วิธีใช้ที่ง่ายที่สุด คือสร้าง R Markdown ที่รองรับภาษาไทยจาก template ที่ package นี้มีให้
ถ้าท่านใช้ RStudio ให้ไปที่
File -> New File -> R Markdown... -> From Template
เลือก template Thai PDF R Markdown หรือ Thai PDF Bookdown จากเมนู
กดปุ่ม OK
จะเปิดไฟล์ R Markdown template
ที่รองรับกับภาษาไทย
จากนั้นกดปุ่ม Knit
(cmd/ctr + shift + K)
ได้เลย จะได้เอกสารเป็น PDF ภาษาไทยที่มี เนื้อหา โค้ด และ กราฟ อยู่รวมกัน
โปรดสังเกตุว่าการที่ภาษาไทยใช้งานได้นั้น เนื่องจากมีการตั้งค่า YAML header ในส่วน
โดยที่ template ของ thaipdf ทั้ง 2 แบบ
Thai PDF R Markdown — ใช้ output เป็น
thaipdf_document()
ซึ่งเป็น wrapper ของ pdf_document()
ที่สามารถรองรับภาษาไทยได้ สำหรับการใช้งานอย่างง่าย หรือ
Thai PDF Bookdown — ใช้ output เป็น
thaipdf_book()
ซึ่งเป็น wrapper ของ bookdown::pdf_book()
ที่สามารถรองรับภาษาไทยได้ และมี feature ของ bookdown
ที่เหมาะสำหรับการเขียนเอกสารทางวิชาการหรืองานตีพิมพ์ที่ต้องการทำ cross references
หรือ citation จากแหล่งต่างๆ
สำหรับ thaipdf_document()
และ thaipdf_book()
จะมี argument ที่สร้างไว้ให้รองรับ การตั้งค่าสำหรับภาษาไทย ดังนี้
thai_font
: สำหรับตั้งค่า font family
ภาษาไทย โดย default เป็น “TH Sarabun New” ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น font
ใดก็ได้ที่ลงไว้ในเครื่อง
line_spacing
:
สำหรับระยะห่างระหว่างบรรทัด โดย default ตั้งอยู่ที่ 1.5 เท่า สาเหตุที่เลือกให้ห่างขึ้นมา
เพื่อเว้นที่ให้กับสระ และ วรรณยุกต์ ที่อยู่บน/ล่างตัวอักษรภาษาไทย
เนื่องจากทั้ง 2 function ของ thaipdf นี้ (thaipdf_document()
,
thaipdf_book()
) สามารถ “ส่งต่อ argument”
ไปยัง rmarkdown::pdf_document()
หรือ bookdown::pdf_book()
ได้
ดังนั้นเราจึงสามารถ ใส่ argument อื่นๆ ที่รองรับโดย 2 function ดังกล่าวได้เลย
(ยกเว้น latex_engine
กับ includes
) เช่น
---
title: "R Markdown ภาษาไทย"
author: "`thaipdf` package"
output:
thaipdf::thaipdf_book:
thai_font: "TH Sarabun New"
line_spacing: 1.5
toc: true # table of content
keep_tex: false # "true" to keep intermediate LaTeX
---
สังเกตุว่าต้อง indent 4 space ด้วย เพราะจากตัวอย่างเป็น
argument ที่ส่งเข้า thaipdf_book()
toc: true
คือกำหนดให้มีสารบัญ
keep_tex: true
คือเก็บไฟล์ LaTeX ไว้ด้วย ก่อนที่ pandoc จะ
compile เป็น PDF
สำหรับ argument ตัวอื่นๆ ที่ใช้ได้ ของ rmarkdown::pdf_document()
ยังมีอีกมาก ลองอ่านได้ที่:
เนื่องจาก R Markdown ใช้ pandoc เป็นตัวแปลง LaTeX เป็น PDF ดังนั้นจึงสามารถใส่ pandoc variable ใน YAML header ได้โดยตรง ซึ่งจะมีประโยชน์ในการปรับ setting อื่นๆ เช่น ปรับขนาด font, เปลี่ยน font family ภาษาอังกฤษ, ทำให้ link หรือ citation มีสีสัน เช่น
---
title: "R Markdown ภาษาไทย"
author: "`thaipdf` package"
output:
thaipdf::thaipdf_document:
thai_font: "TH Sarabun New"
fontsize: 12pt
mainfont: "TeX Gyre Termes"
monofont: "Fira Code iScript"
# Color provided by LaTeX "xcolor" package
linkcolor: BrickRed
urlcolor: NavyBlue
---
Font size — จากตัวอย่าง ปรับขนาด font ด้วย
fontsize
Font family — จากตัวอย่าง มี font family ทั้ง 3 ชนิดในเอกสารคือ
thai_font
: คือ font ภาษาไทย
mainfont
: คือ font หลัก
ภาษาอังกฤษ
monofont
: คือ font ของ code
Color — จากตัวอย่าง ปรับสีของ link ในเอกสาร และ URL
ได้ด้วย linkcolor
และ urlcolor
ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังมี pandoc variable อื่นๆ อีกมาก ลองอ่านได้ที่ Pandoc variable for LaTeX
สำหรับผู้ที่ใช้ LaTeX เป็น และต้องการ customize หลายสิ่งกับ LaTeX ให้ลองเลือก
template ที่ชื่อว่า Thai PDF R Markdown (with preamble)
จากนั้นใส่ชื่อไฟล์และตำแหน่งที่ให้สร้างที่ช่อง Name กับ Location แล้วคลิก OK
จะมีการสร้าง folder ใน structure แบบนี้ (<NAME>
คือชื่อที่กรอกในช่อง Name ไป)
<NAME>/
|
|--> <NAME>.Rmd
|
|--> pre-tex/
|
|--> thai-preamble.tex
ใน folder จะมี R Markdown file ที่มี YAML header ที่ตั้งค่าที่สำคัญคือ:
output:
pdf_document:
latex_engine: xelatex # จำเป็นต้องใช้ xelatex สำหรับภาษาไทย
includes:
in_header: "pre-tex/thai-preamble.tex" # path ไปยัง preamble ที่มีปรับให้ใช้ภาษาไทยได้
latex_engine
เป็น “xelatex”
เพื่อให้ใช้ภาษาไทยได้
includes
คือการนำไฟล์ LaTeX preamble
ที่ตั้งค่าให้ใช้ภาษาไทยได้ (thai-preamble.tex
) มาแทรกใน preamble
header (in_header
) ของ output LaTeX อีกที ก่อนที่จะ compile เป็น
PDF
ดังนั้นเราจึงสามารถเขียน LaTeX เพิ่มเติม หรือ load package และตั้งค่าอื่นๆ ในไฟล์
thai-preamble.tex
ได้อีกด้วย เช่นทำ link ให้มีสี
(เหมือนภาพแรกสุดที่แสดง)
จะเป็นการสร้างไฟล์ thai-preamble.tex
ที่เป็น LaTeX preamble
สำหรับภาษาไทย ขึ้นมาใน working directory (สามารถเปลี่ยนได้)
และมีคำแนะนำการตั้งค่าใน YAML ของ R Markdown ให้ด้วย
ทางเลือกนี้เหมาะสำหรับ
ฟังก์ชั่น thaipdf::use_thai_preamble()
ถูกออกแบบในทำนอง usethis package
โดยจะทำการ
thai-preamble.tex
(default) โดยจะมีการเรียกใช้ LaTeX package
และคำสั่งต่างๆ ในการตั้งค่าภาษาไทยในไฟล์นี้ เช่น ฟอนท์ภาษาไทย
(thai_font
) หรือ ระยะห่างระหว่างบรรทัด
(line_spacing
)จากนั้นให้ ปรับ YAML
header ของ R Markdown ในส่วนของ pdf_document:
หรือ bookdown::pdf_document2:
ซึ่งต้องทำเอง ดังนี้
ตั้ง latex_engine: xelatex
ใส่ path ให้ thai-preamble.tex
ถูก includes ไปที่
in_header:
ใส่คำสั่ง \sloppy
เพื่อตัดคำภาษาไทย ไปที่ R Markdown ส่วนต้น
(หลังจาก YAML header)
.old_wd <- setwd(tempdir()) # for example only
thaipdf::use_thai_preamble()
#> ✔ Writing "thai-preamble.tex" at '/tmp/RtmpLGrLMs/thai-preamble.tex'
#> ✔ Thai font was set to "TH Sarabun New" in the preamble.
#> ✔ Line spacing was set to 1.5 in the preamble.
#>
#> ── TODO ────────────────────────────────────────────────────────────────────────
#> For YAML header of R Markdown in `pdf_document:` or `bookdown::pdf_document2:`
#> • Set `latex_engine` to `xelatex`
#> • Set to include the path to LaTeX preamble
#>
#> ── Like This ───────────────────────────────────────────────────────────────────
#> latex_engine: xelatex
#> includes:
#> in_header: thai-preamble.tex
#>
#> ────────────────────────────────────────────────────────────────────────────────
#>
#> • Add LaTeX macro `\sloppy` to the beginning of the body of R Markdown (just
#> after YAML header).
#>
#> For more details see
#> • How to include preamble in R Markdown
#> <https://bookdown.org/yihui/rmarkdown-cookbook/latex-preamble.html>
#> • LaTeX setting in Thai
#> <http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~wdittaya/LaTeX/LaTeXThai.pdf>
setwd(.old_wd) # for example only
ใน R Markdown (pdf_document
) ให้ปรับ
YAML header และใส่คำสั่ง \sloppy
---
title: "ทดสอบภาษาไทย"
output:
pdf_document:
latex_engine: xelatex # จำเป็นต้องใช้ xelatex สำหรับภาษาไทย
includes:
in_header: thai-preamble.tex # path ไปยัง preamble ที่มีปรับให้ใช้ภาษาไทยได้
---
\sloppy
# สวัสดีชาวโลก
นี่คือเอกสาร R Markdown **ภาษาไทย** ที่สร้าง PDF ด้วย \LaTeX
เสร็จแล้วสามารถกด knit
ได้เลย
Last Updated: 2024-11-20